แบบรายงานผลการสร้าง / พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอนจากกระบวนการ PLC
โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38
................................................................
1. ชื่อสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การสร้างเว็บเพจ
2. ชื่อผู้สร้าง/พัฒนา สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน ชื่อ นางสาวกาญจนา ตุ่นคำแดง ตำแหน่ง ครู คศ.3 โรงเรียน แม่ปะวิทยาคม อำเภอ แม่สอด
จังหวัด ตาก
3. แนวทางการคิดค้นสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน
    เป็นสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอนขึ้นใหม่
4. ประเภทของสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นสื่อการเรียนการสอน ได้แก่ เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การสร้างเว็บเพจ
5. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาที่ต้องสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน
    จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รายวิชา การสร้างเว็บเพจในภาคเรียนที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนบางกลุ่มไม่สามารถสร้างเว็บไซต์ตามระยะเวลาที่กำหนดได้ ครูผู้สอนในฐานะผู้วิจัยจึงพัฒนาชุดกิจกรรมการสร้างเว็บเพจที่มีการกำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจน นำเนื้อหาที่ได้จากการทำโครงงานออกแบบหุ่นยนต์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์ มีแบบประเมินเพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักการประเมินผลงานตนเองก่อนส่ง มีการแนะนำสื่อ แหล่งเรียนรู้ และแนวทางเพิ่มเติมที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถสร้างเว็บไซต์ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
6. วัตถุประสงค์ของการสร้าง/พัฒนา/ทดลองใช้สื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน
    6.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนโดยการใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การสร้างเว็บเพจ
    6.2 เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หลังเรียนโดยการใช้สื่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การสร้างเว็บเพจ
7. กลุ่มเป้าหมาย/ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 46 คน
8. หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน
    การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ ความคิด ทักษะ และประสบการณ์ที่มีความหมายหลากหลายและสัมพันธ์กันเป็นองค์รวม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการรู้แจ้ง รู้จริงในสิ่งที่ศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้
    โครงงาน หมายถึง กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยมีผู้สอนคอยกระตุ้น แนะนำ และให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการวางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน และการนำเสนอผลงาน โดยทั่วไป การทำโครงงาน สามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ตั้งแต่โครงงานเล็ก ๆ จนกระทั่งโครงงานใหญ่ ๆ ที่มีความซับซ้อนขึ้น ซึ่งต้องใช้ความรู้วิธีการและทักษะกระบวนการหลายอย่างเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
9. การออกแบบสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน (โครงสร้างของสื่อ นวัตกรรม)
    ชุดฝึกกิจกรรมมีทั้งหมด 4 ใบงาน โดยมีรายละเอียดดังนี้
    สัปดาห์ที่ 1- 3 ทำข้อตกลง / การจัดเตรียมข้อมูล ใบงานที่ 1 การวางแผนและออกแบบเว็บไซต์
    สัปดาห์ที่ 4 – 7 ใบงานที่ 2 การใช้โปรแกรมสนับสนุน สร้างแบนเนอร์ สร้างปุ่มเชื่อมโยง การปรับแต่งรูปภาพ
    สัปดาห์ที่ 8 – 16 ใบงานที่ 3 การสร้างเว็บไซต์ การสร้างหน้าโฮมเพจ  เพิ่มเนื้อหาในหน้าอื่นๆ
    สัปดาห์ที่ 17 – 20 ใบงานที่ 4 การเผยแพร่เว็บไซต์  อัพโหลดไฟล์ขึ้นสู่เว็บไซต์จริง  เผยแพร่ผลงานผ่านทางเว็บไซต์ https://www.facebook.com ในกลุ่ม  จัดทำรายงานสรุปผลการทำงาน
10. วิธีดำเนินการสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน
    10.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ การทำโครงงาน
    10.2 ออกแบบเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การสร้างเว็บเพจ ตามขั้นตอนของการทำโครงงานและการสร้างเว็บเพจ
    10.3 สร้างแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน
    10.4 นำไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
    10.5 นักเรียนทำแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
11. ผลการพัฒนาสื่อ นวัตกรรมการเรียนการสอน พบว่า ก่อนการเรียนและหลังการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การสร้างเว็บเพจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 18.78 คะแนนและ 26.37 คะแนน ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนสอบก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และจากการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หลังเรียนโดยการใช้สื่อเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา การสร้างเว็บเพจ  พบว่า  โดยภาพรวมผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  รายวิชา  การสร้างเว็บเพจ  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  6  อยู่ในระดับพอใจมาก  มีค่าเฉลี่ย  4.05  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.54  และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อแล้วพบว่า  ผลการประเมินทุกข้ออยู่ในระดับพอใจมาก  โดยข้อที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด  ได้แก่  ผู้สอนเอาใจใส่และดูแลนักเรียนอย่างทั่วถึง  มีค่าเฉลี่ย  4.25  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.81  และตรวจสอบคะแนนได้ตลอดเวลา  มีค่าเฉลี่ย  4.25  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  0.69